วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่1ความหมายของอินเทอร์เน็ต



ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที 
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ต

                                                 ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า
เครือข่ายไทยสาร
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บริษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

อินเทร์เน็ตในประเทศไทย

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยาบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต(THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต

ข้อมูลและบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมายและหลายหลากประเภท ทำให้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับงานในด้านต่างๆ มากมาย จึงขอยก ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตพอสังเขป ดังนี้
ด้านการศึกษา
อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็วมีแหล่งข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาลที่มีกระจายอยู่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ทำให้นักเรียน ครูอาจารย์ รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าหรือการทำงานได้  ในส่วนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ตก็ทำให้ผู้เรียนหรือผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกันไม่จำเป็นต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสถานที่เดียวกันผู้สอนและผู้เรียนสามารถอยู่คนละสถานที่ ก็ยังสามารถทำการเรียนการสอนได้  เช่น  การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนี้, ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษามีเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ มากมายสำหรับนักเรียนและอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน
1.       ธุรกิจการค้า
ปัจจุบันมีการให้บริการ โฆษณาสินค้าบริการและการซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า E-Commerce ซึ่งระบบนี้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ แล้วทำการสั่งซื้อ พร้อมทั้งชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยหักจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตได้ทันที นอกจากนี้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และประกาศข่าวสารใหม่ๆ หรือกรณีที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ก็อาจแจกจ่ายโปรแกรมให้ทดลองใช้ หรือให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ (patch) แม้กระทั่งซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย
2.       การเงินการธนาคาร
ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) หมายถึง ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบางธนาคารก็มีบริการที่มีชื่อคล้ายคลึงกันแต่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking หรือ E-Banking ซึ่งหมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยสื่อที่นิยมใช้ได้แก่อินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าบริการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีการให้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
สำหรับการระบบชำระเงินค่าสินค้าและบริการแบบออนไลน์ ก็อีกบริการซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแส ความแรงของการทำ E-Commerce ทั่วโลก ที่มีความต้องการองค์กรกลางที่น่าเชื่อถือ อันได้แก่ธนาคาร เข้าไปมีบทบาทในเรื่องของการชำระเงินแบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ด้วยระบบนี้ทำให้ลูกค้าเกิดความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการเป็นอย่างมาก
3.       ความบันเทิง
สิ่งที่ดึงดูดใจแก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกเพศ ทุกวัย มากที่สุด ก็คือ ความสาระบันเทิงที่มีอยู่มากมายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การอ่านข่าวสารจากวารสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมตัวอย่างภาพยนตร์ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้อีกด้วย การค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ หรือสนทนาการต่างๆ ก็ถือเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้เช่นกัน รวมทั้งการ
สนทนาพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางเว็บบอร์ด
ต่างๆ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก



ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต

 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ : NECTEC) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
·       สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
·       ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
·       นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น
·       ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
·       สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
·       ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่างๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
·       การพักผ่อนหย่อนใจ สนทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
·       สามารถฟังวิทยุผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้
·       สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ให้และเก่ามาดูได้
โทษของอินเทอร์เน็ต
1. โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)   อาการของโรคติดอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
·       รู้สึกหมกหมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
·       มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
·       ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
·       รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
·       ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเอ
·       รู้สึกดีขึ้นหลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
·       การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียนและความสัมพันธ์ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก

2. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม 
ปัจจุบันเรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือย รวมทั้งคลิปวีดิโอต่าง ๆ เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิด ผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3. ไวรัส ม้าโทรจัน
·       ไวรัส เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
·       ม้าโทรจัน เป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการและสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
·       หนอนอินเทอร์เน็ต ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะแพร่พันธ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่งครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
บัญญัติ10ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต
1.             ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
2.             ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.             ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.             ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.             ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.             ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.             ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.             ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.             ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.      ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
.หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย....

     ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ
แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต

จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะหลัง โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศหรือมีจำนวนประมาณ 7.6 ล้านรายในปี 2548 แม้ว่าการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะชะลอตัวลง แต่ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความกว้างของช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลมีการขยายตัวเพื่อรองรับกับความต้องการ ในขณะที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้น โดยการขยายบริการจากอินเทอร์เน็ตความเร็วปกติไปสู่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งเริ่มมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มลดต่ำลงกว่าเดิม ประกอบกับการพัฒนาคอนเทนท์หรือเนื้อหาที่มีความหลากหลายด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการประกอบธุรกิจภายหลังจากที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทช. ได้เริ่มให้ใบอนุญาตใหม่แก่ผู้ประกอบการยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ภาพรวมของบริการอินเทอร์เน็ตมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม ระดับความแพร่หลาย (penetration rate) ของการอินเทอร์เน็ตสามารถวัดได้จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับต่างประเทศได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปข้อมูลที่สามารถอธิบายความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ดังนี้
ความแพร่หลายของการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ และ อังกฤษ ที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตประมาณร้อยละ 55 ของประชากรทั้งประเทศ และหากเทียบกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกันอย่างเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร และมาเลเซียประมาณร้อยละ 34.41 ของจำนวนประชากร 
มีการกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองมาก นอกเหนือจากการเปรียบเทียบอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังพบว่าการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศก็ยังมีการกระจุกตัวในเขตกรุงเทพฯ
 
·       ปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลสูงขึ้นและความเร็ว (bandwidth) ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น มีการเติบโตถึงร้อยละ 60-90 ต่อปี 
·       กลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อายุ 15-24 ปี โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 52 ของจำนวนผู้ใช้รวมทั้งประเทศ 
·       การใช้อินเทอร์เน็ตในสถานประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตัวเลขในปี 2547 นั้นมีสถานประกอบการร้อยละ 8 ทั่วประเทศใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกิจและการติดต่อสื่อสารอื่นๆ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียงร้อยละ 4 ในปี 2545 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์แนวโน้มของบริการอินเทอร์เน็ตในระยะปานกลางนับจากนี้ (2549-2551) ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
·       จำนวนผู้ใช้บริการใน 3 ปีข้างหน้า แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการตัวเลขผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะสูงถึงประมาณ 10.1 ล้านคนในปี 2551 มีอัตราการเติบโตประมาณร้อย
·       กลุ่มที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมาก ยังคงเป็นกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาและกลุ่มคนทำงาน คิดเป็นร้อยละ 60-70 ของผู้ใช้ทั้งหมด โดยเป้าหมายของการใช้จะมุ่งไปที่อินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียน ค้นคว้า และการสื่อสาร ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความคุ้นเคยต่อเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมาก และกลุ่มผู้ใช้ในต่างจังหวัดจะมีจำนวนมากขึ้น 
·       จำนวนผู้ให้บริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากกลุ่มผู้ให้บริการรายเดิมและกลุ่มผู้ให้บริการรายใหม่ที่ยังไม่เคยให้บริการเข้ามาขอใบอนุญาตเพิ่มเติมด้วย 
·       การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความเป็นไปได้มากว่า เทคโนโลยีการเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในส่วนของความเร็วในการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะกลายเป็นการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 
·       การประยุกต์ใช้บริการอินเทอร์เน็ต การเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตและการพัฒนาให้อินเทอร์เน็ตมีความเร็วเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย ทั้งในด้านการค้า ด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษา และด้านความบันเทิง เป็นต้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตของบริการต่างๆ นั้นมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการใช้อินเทอร์เน็ตในระยะ 3 ปีข้างหน้านั้น จะมีทั้งบริการจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีบริการทางด้านบันเทิงเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก กล่าวโดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า บริการอินเทอร์เน็ตนั้นจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 นั้น จำนวนผู้ใช้บริการน่าจะสูงถึงกว่า 10 ล้านคน หรือมีการเติบโตประมาณร้อยละ 10 ต่อปี จากปี 2548-2551 อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังคงเป็นตัวเลขประมาณการณ์เบื้องต้นเท่านั้น การเติบโตของบริการอินเทอร์เน็ตยังต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนอีกหลายประการคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ราคาค่าบริการ การใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางที่ไม่เหมาะสม ความพร้อมของเทคโนโลยี และมาตรการในการส่งเสริมการให้บริการอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างทั่วถึง และ บทบาทในการกำกับดูแลการให้บริการของ กทช. ที่จะมีผลต่อการเติบโตของบริการอินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างมาก หาก กทช. มีแนวทางการดำเนินงานที่ดี ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ส่งเสริมให้เกิดการบริหารและจัดการแก่ธุรกิจบริการมีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้เครือข่ายให้บริการครอบคลุมและทั่วถึง และมีราคาที่เป็นธรรมทั่วประเทศ ย่อมทำให้บริการอินเทอร์เน็ตมีการเติบโตและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้อย่างเต็มที่
แบบทดสอบ

1.มาตรฐานในการสื่อสารภายในระบบเครือข่าย เรียกว่าอะไร
                      1. protocol                          2. process
                      3. multifunction                   4. Lan network      

2.การใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมงในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเดือนอะไร พ.ศ. อะไร
                      1. เม.ย. พ.ศ. 2530       2. พ.ค. พ.ศ. 2533
                      3. ก.ค. พ.ศ. 2535        4. มี.ค. พ.ศ. 2538

3.ปัจจุบันเครือข่าย ไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันกี่แห่ง
                      1. 1 แห่ง                      2. 2 แห่ง
                      3. 3 แห่ง                      4. 4 แห่ง

4. ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารสามารถเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆได้กี่แห่ง
                     1. 10 แห่ง                      2. 20 แห่ง
                     3. 30 แห่ง                      4. 40 แห่ง

5.โทษของอินเทอร์เน็ตข้อใดไม้ถูกต้อง
                    1. โรคติดอินเทอร์เน็ต     2.เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม
                    3. ไวรัส ม้าโทรจัน          4. ไม่มีข้อถูก

6.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกโดยได้รับความร่วมมือจากประเทศใด
                   1. อังกฤษ                          2. นิวซีแลนด์
                   3. สหรัฐอเมริกา                4. ออสเตรเลีย

7.ปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลสูงขึ้นและความเร็ว(bandwidth) ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจะมีการเติบโตถึงร้อยละเท่าไรต่อปี
                    1. ร้อยละ 60-90 ต่อปี       2.  ร้อยละ 70-80 ต่อปี
                    3. ร้อยละ 90-100 ต่อปี      4. ร้อยละ 50-60 ต่อปี
8.กลุ่มผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อายุประมาณเท่าใด
                    1. 10-12 ปี                        2. 13-15 ปี
                    3. 15-24 ปี                        4. 20-22 ปี

9.แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการตัวเลขผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะสูงประมาณเท่าใดในปี 2551
                    1. 5 ล้านคน                       2. 10 ล้านคน
                    3. 10.1 ล้านคน                  4. 15 ล้านคน

10.สิ่งที่ดึงดูดใจแก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกเพศ ทุกวัย มากที่สุดคือสาระรูปแบบใด
                   1. ความบันเทิง                   2. การเงินการธนาคาร
                   3. ธุรกิจการค้า                    4. ไม่มีทุกข้อ